วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 

วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559


ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ10คน
จากนั้นให้แต่ละคนเลือกรูปทรงเรขาคณิตมา โดยคนในกลุ่มห้ามซ้ำกัน
นำรูปทรงเรขาคณิตที่ได้มาวาดลงในกระดาษและตกแต่งเพิ่มตามจินตนาการของเรา





ดิฉันเลือกสี่เหลี่ยมจัตุรัส



เมื่อวาดเสร็จก็นำผลงานของตนเองไปติดที่กระดานหน้าห้อง อาจารย์ก็จะเดินดูแต่ละชิ้นงานและถามว่าทำไมถึงวาดเป็นรูปนี้
ซึ่งส่วนมากรูปที่วาดจะเกิดจากสิ่งที่เราเห็นได้ในชีวิตประจำวัน
นำผลงานตัดและแปะใส่กระดาฦษจากนั้นรวมเล่มให้สวยงาม

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปต่อยอดต่อในการศึกษา
สามารถนำกิจกรรมที่เรียนไปสอนเด็กได้
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนการบูรณาการทางคณิตศาสตร์/ศิลปะ

การประเมิน
ตนเอง-ตั้งใจเรียนดีมาก
เพื่อน-ตั้งใจเรียนกันอย่างมาก
อาจารย์-มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7   
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559

 องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์
Guilford ได้แบ่งเป็น 4 ด้าน
1.ความคิดคล่องแคล่ว เชื่อมโยงสัมพันธ์ คิดไวมีความหลากหาย
2.ความคิดริเริ่ม คิดแปลกใหม่แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่
3.ความคิดยืดหยุ่น หาสิ่งใหม่มาทดแทนจากสิ่งเดิม
4.ความคิดละเอียดลออ  ความคิดเกี่ยวกับรายละเอียด,การตกแต่ง

ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
1.กำหนดเรื่อง โดยเลือกเรื่องจาความสำคัญ ความสนใจ และมีผลกระทบต่อเด็ก
2. นำหัวข้อที่ได้มาแตกย่อยเป็นองค์ความรู้ ดังนี้
  • ประเภท/ชนิด 
  • ลักษณะ, ส่วนประกอบ
  • การดูแลรักษา/การถนอม/การดำรงชีวิต
  • ประโยชน์
  • ข้อควรระวัง/โทษ
3.เด็กได้ลงมือปฏิบัติจากประสบการณ์ทั้ง ด้าน

กิจกรรมมีทั้งหมด ฐาน แบ่งเด็ก กลุ่ม จากนั้นเวียนกันทำกิจกรรมแต่ละฐานจนครบทุกฐาน กลับไปนั่งที่สรุปความรู้ร่วมกัน

   ฐานที่ 1 แกนกระดาษทิชชู


   ฐานที่ เป่าสีจากฟองสบู่


   ฐานที่ 3 สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ



   ฐานที่ 4 มหัศจรรย์มือของฉัน







การนำไปประยุกต์ใช้
                การนำไปประยุกต์จากการจัดทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจเลือกกิจกรรมมาจัดทำเป็นฐาน รวมถึงบูรณาการเข้ากับการเรียนรู้STEM&STEAM 

การประเมิน
ตนเอง-ตั้งใจทำกิจกรรม
เพือน-ให้ความร่วมมือและตั้งใจทำกิจกรรมอย่างดี
อาจารย์-แ่งกายสุภาพเหมาะสม มีเทคนิคการสอนที่สามารถเข้าใจได้

    

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม2559

         ในสัปดาห์นี้ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอว่ากลุ่มของตนเองทำอะไรบ้าง และนำกิจกรรมมาให้เพื่อนๆทำ
กลุ่มที่1หน่วยปลา
อุปกรณ์
1.ดินน้ำมัน
2.ถุงใส
3.กระดาษสี
4.ไม้จิ้มฟัน
5.กระดาษลัง
ในกิจกรรมคือให้แต่ละกลุ่มออกแบบบ่อปลาหรือตู้ปลาตามจินตนาการ



กลุ่มที่2หน่วยยานพาหนะ
อุปกรณ์
1.กระดาษลัง
2.สี
3.ดินน้ำมัน
ในกิจกรรมให้แต่ละกลุ่มสร้างถนนและยานพาหนะตามจินตนาการ


กลุ่มที่3หน่วยข้าว
อุปกรณ์
1.ช้อนพลาสติก
2.ปากกา
3.ก้านไม้กวาด
4.ไหมพรม
5.กระดาษ
ในกิจกรรมให้แต่ละคนทำหุ่นไล่กาจากอุปกรณ์ที่ให้



กลุ่มที่4หน่วยไข่
อุปกรณ์
1.ภาพไข่
2.สี
ในกิจกรรมให้แต่ละกลุ่มระบายสีภาพที่ให้และตัดออกมาเป็นไข่ตามรูป

กลุ่มที่5หน่วยบ้าน
อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.สี
ในกิจกรรมให้แต่ละกลุ่มวาดรูปบ้านตามจินตนาการ

กลุ่มที่6หน่วยข้าว
อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.สี
ในกิจกรรมให้แต่ละกลุ่มวาดรูปนาข้าวตามจินตนาการ
การนำมาประยุกต์ใช้
-สามารถนำไอเดียของแต่ละกลุ่มไปสอนให้กับเด็กๆได้
การประเมินตนเอง-ตั้งใจทำกิจกรรมและสนุกไปกับกิจกรรม
เพื่อน-ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือดี
อาจารย์-สอนได้สนุกและใจดี

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2559

งดการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4  
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2559

ระดมความคิด creative thinking "STEM&STEAM" 
เรื่องข้าว



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3  
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2559

   ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้เช็คชื่อและแจกหนังสือคนละ1เล่ม
   ทบทวนเพลงที่แจก

และเรียนในเรื่องของ stem/steam
     STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry) 
-Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
-Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
-Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์


      STEAM คือการเพิ่มตัว A หมายถึง ART ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทักษะมีความสำคัญ
ผู้ที่มีทักษะในเรื่องนี้หลายคนประสบความสำเร็จ เช่น Steve Jobs
ด้วยการประสานสมองทั้งสองซีก ตรรกะ+ความคิดสร้างสรรค์
แนวคิด STEAM จึงเข้ามา



จากนั้นก็เริ่มการทำกิจกรรม
กิจกรรมแรกคือทำผีเสื้อจากจานกระดาษให้จับกลุ่มและมีอุปกรณ์ให้คือ
1.จานกระดาษ
2.ไม้ไอติม
3.สีเทียน
4.กรรไกร
ให้ทำปีกผีเสื้อโดยตัดจานกระดาษออกเป็น2ส่วนเท่าๆกัน
ติดไม้ไอติม ตกแต่งตามใจชอบ



กิจกรรมที่สองคือรังผีเสื้อ
อุปกรณ์คือ
1.ผ้าขาว
2.กิ่งไม้
3.ม้วนเชือก
4.ภาพผีเสื้อ
ทำอย่างไรก็ได้ให้ออกมาเป็นรังของผีเสื้อตามต้องการ




กิจกรรมที่สามคือวงจรชีวิตผีเสื้อ
กิจกรรมนี้คือการนำดินน้ำมันมาปั้นเป็นวงจรของผีเสื้อ และทำเป็นvdoเพื่อนำเสนอ

การนำมาประยุกต์ใช้
-นำความรู้เรื่องstem/steam มาใช้ในการสอน
-นำกิจกรรมมาใช้กับเด็ก

การประเมิน
ตนเอง-สนุกไปกับการเรียน
เพื่อน-ให้ความร่วมมือ ตั้งใจเรียน
อาจารย์-แต่งกายสุภาพ มีเทคนิคการสอนที่ดี



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559

              การเรียนในอาทิตย์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาดู vdo ที่เกี่ยวกับรถเมล์ ว่าผู้คนแต่ละคนนั้น มีปฏิกิริยาที่แต่กต่างกันไป แต่ละบทบาท และ vdo นี้ได้เผยแพร่ผ่านทางโซเชียล 



              กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมต่อดินน้ำมันให้สูงโดยใช้ไม้จิ้มฟันช่วย โดนให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ4-5 คน 
ครั้งแรกให้ต่อให้สูงที่สุดโดยห้ามพูดคุยกัน
ครั้งที่สองให้แต่งตั้งหัวหน้ามา1คนและให้หัวหน้าเท่านั้นที่สามารถออกเสียงได้
ครั้งที่สามสมาชิกทุกคนสามารถพูดคุยกันและช่วยกันแสดงความคิดเห็นได้


  จากกิจกรรมจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการต่อในรอบต่อไปเราแต่ละกลุ่มจะทำให้สูงขึ้นได้ เนื่องจากประสบการณ์และการสื่อสาร
ต่อมาเป็นกิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ
โดยอุปกรณ์มีดังนี้
1.กระดาษ
2.ตะเกียบ
3.หนังยาง
โดยให้แต่ละกลุ่มนำอุปกรณ์ที่มีทำเป็นเรือที่แข็งแรงและบรรทุกถุงซอสให้ได้มากที่สุด



กิจกรรมสุดท้ายคือการออกแบบชุดจากกระดาษหนังสือพิมพ์
คือให้แต่ละกลุ่มนำหนังสือพิมพ์มาออกแบบให้เป็นชุด และแต่ละชุดจะต้องประกอบไปด้วย
1.เสื้อ
2.กระโปรง
3.เครื่องประดับศรีษะ
4.เครื่องประดับแขน
5.รองเท้า
เมื่อทุกกลุ่มออกแบบแล้วต้องนำเสนอว่าชุดนั้นมาจากประเทศอะไร




การนำมาประยุกต์ใช้
-สามารถนำกิจกรรมที่เราได้เรียนมาประยุกต์เพื่อจัดกิจกรรมให้แก่เด็กได้
การประเมิน
ตนเอง-ตั้งใจเรียนและสนุกไปกับกิจกรรม
เพื่อน-ให้ความร่วมมือในการเรียนและทำกิจกรรมอย่างดี
อาจารย์-สอนได้สนุกทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ